เสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกาย

ร่างกายของคนเรานั้นสามารถเคลื่อนไหวได้ส่วนหนึ่งก็มาจากกล้ามที่การยืดหยุ่น  แต่นอกเนื้อจากกล้ามเนื้อแล้วนั้นสิ่งที่เป็นโครงสร้างที่ทำให้ทำให้ยืนและเดินได้นั้นคือ กระดูก ลองคิดเล่นๆว่าคุณไม่มีกระดูกจะเป็นอย่างไร คงไม่สามารถลุกขึ้นที่นอนได้ ตัวนิ่มๆไปหมด เมื่อกระดูกเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็ใช้ว่ามันจะมีสภาพที่สมบูรณ์ตลอดการ เพราะยิ่งเราอายุเพิ่มขึ้นเราอาจจะต้องใช้ร่างกายในการทำงานทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรง เพราะกระดูกถือว่าที่ยึดเหนี่ยวสำหรับอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ยิ่งร่างกายทำถูกใช้งานมาขึ้นมากเท่าไหร่กระดูกก็จะมีการศึกล่อมากขึ้น

แล้วยิ่งเราอายุมากขึ้นกระดูกก็จะมีสภาพเสื่อมลง เพราะฉะนั้นแล้วเราควรดูแลกระดูกด้วยการเสริมแคลเซียมเข้าไปร่างกาย เพราะแคลเซียมถือเป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีสำหรับกระดูทุกๆส่วนในร่างกาย แต่จะมีวิธีอะไรเพิ่มเติมบ้างในเสริมกระดูกให้แข็งแรงนั้น  วันนี้ทางเว็บ  ชุดตรวจ hiv  ของเรามีมาแนะนำให้ดูดังนี้

  • การดื่มนมและการทานอาหารที่มีแคลเซียม การเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย สามารถเริ่มได้จากวิธีการง่ายๆอย่าการดื่มนม หรืออาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย เพราะแคลเซียมที่อยู่ในนมหลายๆชนิดนั้นร่างกายจะทำการดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายที่สุด และในอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเช่น ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว งา เต้าหู้ก้อน ปลาเล็กปลาน้อย โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชีส เป็นต้น
  • รับวิตามินDและแมกนีเซียม ไม่ใช่แค่การทานนมและหารที่มีแคลเซียมเท่านั้นที่จะเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงได้ แต่การทานอาหารที่มีวิตามินดีจะช่วยทำให้การดูดซึมแคลเซียมทำงานได้อย่างดีขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีอย่างเช่น นม ปลาแซลมอน ไข่แดง เห็ด น้ำมันพื้นและแสงแดด ซึ่งการได้รับวิตามินดีจากแสดงแดดนั้น ทำได้โดยการออกไปรับแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้าและช่วงเย็นวันละ 10-15 นาทีก็เพียงต่อร่างกาย และแมกนีเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่บทบาทต่อกระบวนการการสังเคราะห์และยังช่วยควบคุมในเรื่องของการขนส่งแคลเชียมไปเสริมสร้างร่างกาย
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะไปยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียม ถึงแม้เราจะทานอาหารที่เข้าไปช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกายมากแค่ไหน ก็จะมีอาหารบางประเภทที่มีส่วนในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมได้เหมือนกันอย่างเช่น รำข้าวสาลี มันเทศ ผักโขม พืชมีเมล็ดและโปรตีน สารสกัดจากถั่วเหลือง แนะนำว่าให้ทานผักที่มีแคลเซียมสูงและมีออซาเลตต่ำอย่างเช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ถั่วพู ขี้เหล็ก เป็นต้น
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท แน่นอนว่าเครื่องดื่มที่เป็นผลเสียต่อร่างกายคงหนีไม่พ้นแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำการขีดขวางการทำงานการดูดซึมแคลเซียมจากระบบของทางเดินอาหาร และน้ำอัดลมก็เช่นเดียวกันที่จะมีไปทำให้กระดูกพรุนได้ง่าย
  • ไปออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่จะเสริมสร้างทำให้กระดูกนั้นแข็งแรง คือการออกกำลังที่จะต้องใช้การแบกรับน้ำหนักตัว เพราะจะเสริมสร้างทำให้กระดูกแข็ง และชะลอการเกิดภาวะกระดูกพรุน ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้อย่างเช่น เดิน ตีกอล์ฟ ไทชิ รำไท่เก็ก โยคะ บอดี้เวท เป็นต้น